หน้าหลัก
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • สมัครผู้เชี่ยวชาญ
  • โพสต์ทั้งหมด
  • ไอเดียทั้งหมด
    • ผลงานทั้งหมด
    • พื้นที่การใช้งาน
      • ห้องทั้งหมด
      • ห้องรับแขก-นั่งเล่น
      • ห้องทำงาน-หนังสือ
      • ห้องอเนกประสงค์
      • ห้องครัว
      • ห้องอาหาร
      • ห้องพระ
      • ห้องนอน
      • ห้องนอนเด็ก
      • ห้องน้ำ
      • ห้องแต่งตัว
      • ห้องดาดฟ้า
      • ระเบียง
      • ห้องเก็บของ
      • โรงจอดรถ
      • พื้นที่ใช้งานทั้งหมด
  • ประเภทบ้าน
    • ประเภทบ้านทั้งหมด
    • บ้านเดี่ยว
    • ทาวน์เฮาท์
    • คอนโด
    • เพนเฮาท์
    • ห้องแถว
    • อาคารพาณิชย์
    • โกดัง
    • โฮมออฟฟิศ
    • โมดูล่า
    • นอคดาวน์
    • ร้านค้าสแตนอโลน
    • Container
  • สไตล์บ้าน
    • สไตล์บ้านทั้งหมด
    • โมเดิร์น
    • ลอฟต์
    • วินเทจ
    • มินิมอล
    • คลาสสิก
    • นอร์ดิก
    • บ้านทรงไทย
    • บ้านไทยประยุกต์
    • โคโลเนียล
    • บ้านสไตล์ธรรมชาติ
  • ช่าง-ผู้เชี่ยวชาญ
    • ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
    • วิศวกร
    • สถาปนิก
    • นักออกแบบภายใน
    • ผังเมือง
    • ตัวแทนตรวจบ้าน
    • ผู้รับเหมา
    • บริหารสัญญา
    • เขียนแบบ
    • ช่างก่อสร้าง
  • ลงทะเบียน
    • สมัครสมาชิก
    • สมัครผู้เชี่ยวชาญ
  • บทความ
  • คำถามที่พบบ่อย
  • กติกาและเงื่อนไข
    • กติกาและเงื่อนไข
  • ติดต่อ
    • แผนที่
TRONGJAI © 2022 All Rights Reserved

Made with by Innovation



กรุณาลงทะเบียน หรือเข้าสู่ระบบ

เพื่อค้นหาไอเดียที่สร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด


ลงทะเบียน

หรือ


เข้าสู่ระบบ
ยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไข
และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
Add Event
First slide
Second slide
Third slide
Third slide
Third slide
Third slide
Third slide
Previous Next

ไอเดียและแรงบันดาลใจ

พื้นที่การใช้งาน

ประเภทบ้าน

สไตล์บ้าน




ค้นหาช่างและผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ

วิศวกร

สถาปนิก

นักออกแบบภายใน

ผังเมือง

ตัวแทนตรวจบ้าน

ผู้รับเหมา

บริหารสัญญา

เขียนแบบ

ช่างก่อสร้าง



ใช้งานง่ายๆ เริ่มต้นด้วย 4 ขั้นตอน

1. ค้นหาไอเดีย
จากรูปภาพของเรา
2. พูดคุย/ขอใบราคา
จากผู้เชี่ยวชาญ
3. นัดผู้เชี่ยวชาญ
ดูพื้นที่หน้างาน
4. ตรวจ-รับงาน
และรีวิวผู้เชี่ยวชาญ

โพสต์ล่าสุด

...
10 กลโกงของผู้รับเหมา รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

 ปัญหาระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ต่อเติม และออกแบบ เป็นปัญหาที่เกิดมายาวนานและเป็นปัญหาหลักของใครหลาย ๆ คนว่า จะเลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้ผู้รับเหมาที่ดี และจะป้องกันอย่างไรไม่ให้ถูกผู้รับเหมาโกงได้ จึงได้รวบรวมกลโกงของผู้รับเหมาที่พบเจอได้บ่อย โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

 1. ผู้รับเหมาทิ้งงาน
          ปัญหาที่เจอกันเป็นประจำสำหรับผู้รับเหมาที่ทิ้งงานแล้วเชิดเงินหนี ทำงานช้า ไม่เสร็จตามแผนที่วางเอาไว้มาก

 2. วัสดุก่อสร้างไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้
          เป็นกรณีที่ผู้รับเหมาโกงวัสดุ โดยเอาวัสดุเกรดต่ำกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ มาใช้ในการก่อสร้างต่อเติมไม่ตรงตามแบบที่ผู้ว่าจ้างต้องการ

 3. สัญญาคลุมเครือ
          สัญญาจ้างที่ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ร่างมาจะอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อให้ตัวเองได้เปรียบ หรือหลีกเลี่ยงการต่อสู้ในชั้นศาลเมื่อเกิดการฟ้องร้องขึ้น ดังนั้นการทำสัญญาต้องทำด้วยความรอบคอบ เพราะผู้ว่าจ้างอาจจะเสียเปรียบในกรณีที่ต่อสู้ในชั้นศาลได้

 4. เบิกเงินก่อนล่วงหน้า
          ปัญหาการเบิกเงินก่อนล่วงหน้าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นประจำ โดยผู้รับเหมาชอบอ้างว่าเงินไม่พอจะซื้ออุปกรณ์ ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับจ่ายค่าคนงาน ทำให้นายจ้างใจอ่อนยอมให้ผู้รับเหมาเบิกเงินล่วงหน้าไปก่อน เมื่อผู้รับเหมาได้เงินครบก็ทิ้งงานทันที


 5. ผู้รับเหมาเปลี่ยนทีมช่างชุดเดิม
          ในช่วงแรกผู้รับเหมาจะนำช่างที่มีประสบการณ์ทำงานเข้ามาทำงาน ทำให้ผู้ว่าจ้างเชื่อใจในฝีมือการทำงานว่าน่าจะทำออกมาได้ดี แต่หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนเอาช่างมือใหม่เข้ามาทำ จากเดิมที่มีช่างฝีมือจริงอยู่ 5 คน หลัง ๆ อาจจะเหลือเพียง 2 คน ทำให้งานที่ออกมาค่อนข้างล่าช้าไม่เสร็จตามกำหนด และไม่ประณีตอย่าที่คิดเอาไว้

 6. ผู้รับเหมาไม่เข้าหน้างาน
          อีกปัญหาคือผู้รับเหมาไม่เข้าไปดูงานปล่อยให้ลูกน้องทำไปเรื่อย ๆ ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง ทำให้งานที่ออกมาอาจจะมีความคลาดเคลื่อน และคนงานอาจโกงได้

 7. ผู้รับเหมาขาดความรับผิดชอบ
          นัดเจอผู้รับเหมาไม่เป็นนัด รับปากจะทำให้แต่เอาเข้าจริง ๆ กลับไม่ได้ทำ ติดต่อยาก ปิดมือถือ และอาจจะถึงขั้นทิ้งงานในที่สุด

 8. โกงเงินมัดจำ
          ผู้รับเหมาบางรายจะเรียกเงินมัดจำก้อนแรกสูง ๆ เช่น 40% ของมูลค่างานทั้งหมด เมื่อได้เงินมัดจำไปแล้วก็ทิ้งงานทันทีหรืออาจจะทำงานช้า ไม่ค่อยเข้างานจนเราต้องเลิกจ้าง เป็นต้น

 9. แก๊งหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต
          ปัจจุบันโลกออนไลน์เข้าถึงผู้คนมากขึ้น ทำให้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างหลายรายใช้ช่องทางออนไลน์ในการติดต่อทางธุรกิจ และมีผู้ว่าจ้างหลายคนที่ใช้สื่อออนไลน์ในการประกาศหาผู้รับเหมา ทำให้ตกเป็นเหยื่อของผู้รับเหมาที่ต้องการจะหลอกลวง ดูภายนอกอาจจะทำให้ดูน่าเชื่อถือพูดจาหว่านล้อมสุดท้ายก็เชิดเงินหนี

 10. ฮั้วประมูล
          เป็นกรณีที่มักจะเกิดขึ้นกับวงการก่อสร้าง โดยผู้รับเหมามีความต้องการร่วมกันที่จะให้ราคารับเหมาไม่ต่ำจนเกินไปหรือไม่ ให้ถูกตัดราคาจากผู้รับเหมาที่ยื่นประมูลร่วมกัน ทำให้ผู้รับเหมาต่างฝ่ายต่างเข้ามาคุยเพื่อหาจุดที่ลงตัวที่สุดในการประมูลต่างฝ่ายต่างได้ผลประโยชน์ แล้วค่อยแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ การฮั้วประมูลจะทำให้ราคาค่าก่อสร้างโดยรวมดูสูงกว่าปกติจากผู้ยื่นประมูล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ว่าจ้างทำให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงกว่าความเป็นจริง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://home.kapook.com/view123741.html

อ่านต่อ
...
มองมาทางเราหน่อยนะเทอ
มองมาสักนิด แล้วเทอจะติดใจ
อ่านต่อ
...
รอยร้าวของผนัง สัญญาณอันตราย...หรือแค่เรื่องธรรมชาติ

1.รอยร้าวที่เกิดบนผนัง

รอยร้าวประเภทนี้ส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตรายถึงขั้นบ้านถล่มดินทลาย แต่มักจะมาในรูปแบบของความน่ารำคาญ คือจะทำให้ดูรกหูรกตา ไม่น่ามอง แต่ในกรณีนี้ไม่สามารถทำให้บ้านพังได้ครับ เช่น

1.1 รอยร้าวแบบแตกลายงา มักจะเกิดจากปูนฉาบขาดน้ำ คือ ผนังก่ออิฐแห้งเกินไปทำให้เมื่อเราเริ่มงานฉาบปูน น้ำที่ผสมในปูนฉาบที่ได้สัดส่วนแล้ว โดนผนังด้านในดูดเอาน้ำไปทำให้ปูนฉาบผิดสัดส่วนและแห้งเกินไป เมื่อใช้อาคารไปซักพักจึงเกิดเป็นรอยดังกล่าว หรืออาจจะโดนเร่งงานจากเจ้าของบ้านหรือรีบเก็บงวดงาน ทำให้เมื่อก่อผนังอิฐเสร็จก็ฉาบเลยไม่รอให้ผนังอิฐเซ็ตตัวนั่นเอง

1.2 รอยแตกของผนังตามริมขอบวงกบ อันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความมักง่ายของช่างก่อสร้าง ที่ไม่ยอมทำเสาเอ็น เสาเอ็นก็คือเสา คสล. ขนาดประมาณ 7 x 7 cm ที่ทำเป็นกรอบครอบวงกบประตูไว้นั่นเอง เพื่อป้องกันปูนฉาบแตกจากการเปิดปิดประตู ฉะนั้นในระหว่างการก่อสร้างเจ้าของบ้านก็ควรตรวจสอบให้รอบคอบก่อนจะที่ช่างจะฉาบปูน

1.3 รอยแตกแนวทแยงบนผนังกว้างประมาณ1-2 มม. อันนี้เริ่มจะน่ากังวลขึ้นมา รอยร้าวประเภทนี้มักจะเกิดหลังจากอาคารสร้างเสร็จไปแล้วซักพัก หากเราเจอให้ลองเอาดินสอขีดตรงปลายรอยแตกแล้วสังเกตว่าร้าวต่อหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าไม่อันตรายอาจจะแค่เกิดการบิดของผนังหรือเวลาสิบล้อขับผ่านหน้าบ้านบ่อยๆเกิดการสะเทือนมากเป็นต้น แต่ถ้ารอยร้าวกว้างและยาวมากขึ้นอาจจะสันนิษฐานได้ว่า โครงสร้างอาคารอาจจะกำลังทรุดตัว ควรปรึกษาวิศวกรเป็นการด่วน

2. รอยร้าวที่เกิดบนคาน

รอยร้าวบริเวณนี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือเยอะ ให้คิดไว้ก่อนว่านั่นคือเรื่องอันตราย ให้รีบหาสาเหตุและแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด เพราะไม่ใช่เรื่องปกติแล้วครับ โดยเราอาจสังเกตได้ดังนี้

2.1 รอยร้าวแบบแตกลายงาแต่ไม่ปริออกมา อันนี้น่าจะเกิดจากปูนฉาบขาดน้ำเช่นเดียวกับข้อ 1.1 หรืออาจจะเป็นช่างฉาบปูนคนเดียวกัน ไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ

2.2 รอยร้าวเป็นเส้นตรงแนวตั้งตรงกลางคานและปริจนเห็นเนื้อปูนหรือเหล็กเสริมด้านใน อาการนี้แสดงว่าคานรับน้ำหนักเกินกว่าที่วิศวกรกำหนดไว้ เรามักจะเจอกรณีแบบนี้ในอาคารประเภทโกดังที่มีการกองเก็บสินค้าเกินกำลัง ให้ลองเอาของที่ตั้งอยู่บนเหนือคานออกแล้วสังเกตดูว่ารอยร้าวมันหยุดหรือไม่ ถ้าหยุดก็แสดงว่าเราเจอสาเหตุ ขั้นตอนต่อไปก็ให้กระจายการวางน้ำหนักให้สมดุลกันทั้งอาคาร แต่ถ้ายังคงร้าวต่ออันนี้ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าอาคารของเราก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ก็รีบอพยพชั่วคราวกันก่อนครับ แล้วรีบติดต่อวิศวกรมาดูโดยเร็วที่สุด เพราะอาจจะทำให้อาคารพังได้

3. รอยร้าวที่เกิดบนเสา

รอยร้าวที่เกิดกับเสาก็เป็นอีกตำแหน่งที่ถือว่าอันตรายถึงชีวิตได้ง่าย ถ้าไม่นับรอยแตกลายงา รอยร้าวของเสามักจะเกิดที่หัวเสา อาจจะฉีกออกแค่เสาหรือทั้งคานและเสาก็ได้ อันนี้รีบย้ายออกจากบ้านก่อนเลยครับ แล้วติดต่อวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ เพราะเกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เกิดแรงเฉือนอย่างรุนแรงที่ตำแหน่งหัวเสาเชื่อมกับคานและจะทำให้อาคารทรุดลงมาได้ การแก้ไขมีตั้งแต่เสริมเหล็กรับแรงให้กับเสา ไปจนถึงทุบอาคารทิ้งกันเลย ฉะนั้นถ้าเจอรอยร้าวแบบนี้อย่านิ่งนอนใจอย่างเด็ดขาด

4. รอยร้าวที่เกิดบนพื้น

รอยร้าวบนพื้นมักจะมีให้เห็นบริเวณพื้นชั้นล่าง และเป็นพื้นที่วางบนดินหรือที่เรียกว่าพื้นหล่อในที่ โดยสาเหตุเกิดจากการทรุดตัวของดินถมบดอัดที่อยู่ใต้พื้น พอดินที่รับน้ำหนักพื้นทรุดลงก็จะทำให้พื้นทรุดตาม ทำให้เห็นรอยร้าวตามขอบพื้นที่ติดกับคาน การแก้ไข หากกำลังเริ่มทำแบบบ้านให้พยายามทำพื้นแบบวางบนคานไม่ว่าจะเป็นพื้นหล่อหรือพื้นสำเร็จรูปก็ตาม ปัญหานี้ก็จะไม่เกิดกับบ้านเราอย่างแน่นอน ส่วนคนที่อยู่แบบบ้านเดิมมานานและพื้นทรุดตัวแล้ว อันนี้แก้ยากครับ ง่ายสุดคือทุบพื้นเดิมทิ้งแล้วหล่อใหม่ดีกว่า

ที่มา : รอยร้าวของผนัง สัญญาณอันตราย...หรือแค่เรื่องธรรมชาติ (forfur.com)

อ่านต่อ

เปิดจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. และเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.30 น.

โทร: +66 96 152 1300 อีเมล: trongjai.tj@gmail.com, support@trongjai.com




สมัครผู้เชี่ยวชาญ ฟรี! ลงผลงานของคุณ บอกตัวตนให้ลูกค้าของคุณสนใจ
สมัครเลย